งานที่คนต่างด้าวห้ามทำ

   ในปัจจุบันของประเทศไทยมีการเติบโตของธุรกิจที่มากขึ้นมีการสร้างโรงงาน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆและในยุคปัจจุบันมีการเปิดให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมากเพื่อมาตอบสนองความต้องการของเจ้าของธุรกิจแต่ถึงแม้ในปัจจุบันการเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็ยังมีงานที่กฎหมายในประเทศไทยกำหนดไว้ห้ามคนต่างด้าวทำงาน หากละเมิดทำจะมีความผิดทั้งนายจ้างและแรงานต่างด้าว 


 
เช็กลิสต์อาชีพห้ามแรงงานต่างด้าวทำเด็ดขาด

1.งานแกะสลักไม้
2.งานขับขี่ยานยนต์
3.งานขายทอดตลาด
4.งานเจียระไนหรือขัดเพชร/พลอย
5.งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย
6.งานทอผ้าด้วยมือ
7.งานทอเสื่อ
8.งานทำกระดาษสาด้วยมือ
9.งานทำเครื่องเขิน
10.งานทำเครื่องดนตรีไทย
11.งานทำเครื่องถม
12.งานทำเครื่องทอง/เครื่องเงิน/เครื่องนาก
13.งานทำเครื่องลงหิน
14.งานทำตุ๊กตาไทย
15.งานทำบาตร
16.งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
17.งานทำพระพุทธรูป
18.งานทำร่มกระดาษหรือผ้า
19.งานนายหน้า/งานตัวแทน
20.งานนวดไทย
21.งานมวนบุหรี่ด้วยมือ
22.งานมัคคุเทศก์หรืองานจัดนำเที่ยว
23.งานเร่ขายสินค้า
24.งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
25.งานสาวหรืองานบิดเกลียวไหมด้วยมือ
26.งานเสมียนพนักงานหรือเลขานุการ
27.งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคด

ฝ่าฝืน
  • แรงงานต่างด้าว มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 และถูกผลักดันส่งกลับ
  • นายจ้าง มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ต่อต่างด้าว 1 คน
  • หากกระทำผิดซ้ำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและห้ามจ้างคนต่างด้าวมาทำงานเวลา 3 ปี
 

          แรงงานคนต่างด้าว MOU คือ แรงงานคนต่างด้าวที่ผ่านการนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีทั้งหมด 3 สัญชาติ กัมพูชา ลาว  เมียนมาร์ ซึ่งขั้นตอนการนำเข้าแรงงานต่างๆ ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่ละประเทศ ให้ส่งออกและนำเข้ามาเพื่อทำงานกับนายจ้างในประเทศไทย โดยผ่านการรับรองจากหน่วยงานของแต่ละฝ่าย เช่น กรมการจัดหางาน สถานฑูตไทยประจำแต่ละประเทศ สถานเอกอัคราชทูตของแต่ละประเทศประจำประเทศไทย และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยการนำเข้าแรงงานของแต่ละประเทศมีข้อตกลงว่า แรงงานจะได้รับสวัสดิการและการดูแลแรงงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานของประเทศไทยทุกประการ เช่น ได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด จัดที่พัก,น้ำ-ไฟ(ค่าใช้จ่ายตามแต่ตกลงกัน), แรงงานทุกคนต้องได้รับการรักษาพยาบาลตามหลักสิทธิประกันสังคม เป็นต้น

► แรงงาน MOU ต่างกับแรงงานกลุ่มที่อยู่ในประเทศอย่างไร?

         ทั้งหมดเป็นแรงงานต่างด้าวเหมือนกันแต่อาจจะต่างประเภทกันตรงที่การเข้ามาทำงานในประเทศไทย แบบทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย แรงงานที่ถูกกฎหมาย(เคยผิดกฎหมาย)นั้น อาจได้รับการอยู่ในประเทศโดยผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ทำพาสปอร์ต หรือบัตรชมพูจากทางภาครัฐ ซึ่งแรงงานกลุ่มที่มีอยู่ในประเทศไทยเหล่านั้น หรือที่รู้จักกันในนาม(แรงงานกลุ่ม ทร.38,พิสูจน์สัญชาติ,บัตรชมพู) ซึ่งส่วนใหญ่นั้นกำลังจะวีซ่าครบวาระ 4 ปี และ 6 ปี หรือต้องผ่านการตรวจสัญชาติตามลำดับ แรงงานกลุ่มนี้เมื่อครบอายุวีซ่าหากประสงค์จะทำงานต่อไปอีก ต้องดำเนินการนำเข้าใหม่ โดยผ่านกระบวนการนำเข้าตามระบบ MOU เช่นเดียวกัน

► ปลอดภัยแค่ไหน กับการจ้างแรงงานกลุ่ม MOU ?

        แรงงานทุกคนที่บริษัทฯ นำเข้ามาทุกคนนั้น ผ่านการคัดเลือก อบรม สัมภาษณ์ ตามคุณสมบัติที่นายจ้างต้องการและทำความเข้าใจในรายละเอียดงานทุกคน จากภาพงานที่ทางบริษัทฯ ได้ขอจากทางนายจ้าง และอีกประการสำคัญคือ แรงงานทุกคนมีความคาดหวังกับการทำงาน และต้องการหาเงินเพื่อส่งกลับไปให้ครอบครัวที่ยากจน ไม่ต้องการที่จะสร้างปัญหาและภาระให้กับนายจ้างอย่างแน่นอน จึงปลอดภัยและวางใจได้ว่าใช้แรงงาน MOU กลุ่มนี้ปลอดภัยที่สุด


กระบวนการสรรหาแรงงานของ N&H 

- รับข้อมูลความต้องการของนายจ้างเกี่ยวกับ รายได้ สวัสดิการ คุณสมบัติของแรงงาน ตลอดจนสัดส่วนชาย/หญิง
- จัดส่งข้อมูลให้กับฝ่ายสรรหา เพื่อเปิดรับสมัครงาน ณ ประเทศต้นทาง
- สัมภาษณ์ และคัดเลือกตามคุณสมบัติตามที่นายจ้างระบุ
- ถ่ายรูปแรงงานที่ผ่านการคัดเลือกให้นายจ้างรับทราบ
- ฝ่ายสรรหา ณ ประเทศต้นทางจัดทำบัญชีรายชื่อ (Name List) เพื่อส่งให้ N&H ดำเนินการตามระบบ MOU ต่อไป
- N&H ดำเนินการตามกระบวนการนำเข้าจนแล้วเสร็จ และแจ้งกำหนดการจัดส่งแรงงานให้นายจ้างทราบ
- N&H รับแรงงานตามกำหนด และพาตรวจลงตราวีซ่า,ตรวจสุขภาพ,เข้าอบรม ณ ศูนย์แรกรับฯ เพื่อรับใบอนุญาตทำงาน พร้อมจัดส่งแรงงานที่บริษัทนายจ้าง