การเปลี่ยนนายจ้างของแรงงานคนต่างด้าว MOU 
 

 
   ถึงแม้ว่าแรงงานคนต่างด้าวแบบ MOU จะมีเงื่อนไขระบุไว้ชัดเจนว่า "ไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้าง หรือ เปลี่ยนงานได้อย่างเสรี" 
อย่างแรงงานต่างด้าวที่มี VISA และ ใบอนุญาตทำงานประเภทพิสูจน์สัญชาติตลอดระยะเวลาทำงานภายในประเทศ ในสัญญาจ้าง 2 ปี ตามข้อตกลงของMOUแต่ก็ใช่ว่าแรงงานคนต่างด้าวแบบMOU จะไม่สามารถทำการเปลี่ยนนายจ้างได้ เมื่อเข้ามาทำงานภายในประเทศแล้ว


   โดยการเปลี่ยนนายจ้างนั้นจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
1.นายจ้างเป็นผู้เลิกจ้างหรือเสียชีวิต
2.นายจ้างทำร้ายร่างกายหรือทารุณกรรมต่อแรงงานคนต่างด้าว
3.นายจ้างจ่ายเงินไม่ตรงกับสัญญาจ้างงาน และ ไม่ปฏิบัติตนตามเงื่อนไขที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด
4.นายจ้างล้มละลาย
5.สภาพแวดล้อมในการทำงานอาจเป็นอันตรายต่อจิตใจ ร่างกาย สุขภาพอนามัย
และชีวิตของแรงงานต่างด้าว
6.นายจ้างใหม่มีความประสงค์และยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างเก่า

 


 
โดยมีเอกสารในการดำเนินการ 2 ส่วน ดังนี้
 
A : เอกสารที่เกี่ยวข้องในการแจ้งออก

-แบบฟอร์มแจ้งคนต่างด้าวออกจากงาน
-ใบอนุญาตทำงาน E-Work Permit 
-สำเนาหนังสือเดินทางของแรงงานต่างด้าว
-นายจ้าง ( กรณีนิติบุคคล )หนังสือรับรองไม่เกิน 3 เดือน , สำเนาบัตรประชาชน+ทะเบียนบ้าน
-นายจ้าง ( กรณีบุคคลธรรมดา ) สำเนาบัตครประชาชน+ทะเบียนบ้าน
-หนังสือมอบอำนาจดำเนินการแจ้งต่อคนต่างด้าวออกจากงาน

***หมายเหตุ กรณีนายจ้างเดิมไม่ดำเนินการแจ้งออก



B : เอกสารที่เกี่ยวข้องในการยื่นเข้าทำงาน

-แบบฟอร์มแจ้งการจ้างงานคนต่างด้าว
-แบบฟอร์มแจ้งการเข้าทำงานของคนต่างด้าว
-หนังสือรับรองการจ้าง
-สัญญาจ้างงาน
-ใบอนุญาตทำงาน E-Work Permit
-เงินหลักประกัน1,000 บาท
-สำเนาหนังสือเดินทางของแรงงานต่างด้าว
-นายจ้าง (กรณีนิติบุคคล) หนังสือรับรองไม่เกิน 3เดือน,สำเนาบัตรประชาขน+ทะเบียนบ้าน
-นายจ้าง (กรณีบุคคลธรรมดา) สำเนาบัตรประชาชน+ทะเบียนบ้าน
-หนังสือมอบอำนาจดำเนินการแจ้งคนต่างเข้าทำงาน

***หมายเหตุ กรณีหลังการแจ้งออกจากนายจ้างเดิม หากแรงงานต่างด้าวไม่สามารถดำเนินการแจ้งเข้าทำงานกับนายจ้างใหม่ได้ทันเวลาที่กำหนด
จะถือว่าใบอนุญาตทำงานได้สิ้นสุดลงนับตั้งแต่วันที่แรงงานต่างด้าวออกจากงานหรือพ้นกำหนดระยะเวลาเปลี่ยนนายจ้างใหม่